การจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 21,846 view

การยื่นขอจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายไทยที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1459 บัญญัติว่า การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยสามารถดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศได้

 

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรส  

คู่สมรสฝ่ายไทย

1.  บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางหรือบัตรข้าราชการ
2.  สำเนาทะเบียนบ้าน
3.  หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
4.  ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
5.  สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
6.  ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)
7.  หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
        ·  คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
        ·  สมรสกับคู่สมรสเดิม
        ·  มีใบรับรองแพทย์แสดงว่ามิได้ตั้งครรภ์
        ·  มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

กรณีคู่สมรสเป็นชาวกัมพูชา

1.  หนังสือรับรองคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเสรีภาพในการสมรส ซึ่งออกโดยทางการกัมพูชา (หนังสือรับรองความเป็นโสด) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษและรับรองโดยบริษัท Notary Public
2.  บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
3.  สำเนาทะเบียนบ้านหรือรายละเอียดที่อยู่
4.  หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
5.  ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

กรณีคู่สมรสมีสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่กัมพูชา ต้องมีเอกสารเหมือนกรณีชาวกัมพูชาในข้อ 2-5

ในส่วนหนังสือรับรองความเป็นโสด ควรเป็นหนังสือซึ่งออกโดยทางการของประเทศที่ผู้ร้องมีสัญชาติและผ่านการรับรอง

  1. ให้สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำกัมพูชารับรองและนำไปให้กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชารับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำกัมพูชา
  2. หากกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาไม่สามารถรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำกัมพูชาได้ อาจขอให้สถานเอกอัครราชทูตดังกล่าวติดต่อมาที่สถานเอกอัครราชทูตไทย เพื่อส่งตัวอย่างลายเซ็นของเจ้าหน้าที่
  3. หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 ได้ หรือหากประเทศของผู้ร้องไม่มีสถานเอกอัครราชทูตในกัมพูชา สามารถให้สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทยรับรองหนังสือรับรองสถานภาพโสด และนำไปให้กรมการกงสุลของกระทรวงการต่างประเทศไทยรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทย และสามารถจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยหรือที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ได้

 

-----------------------

 

การจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายกัมพูชา

 

คู่สมรสจะต้องยื่นขอให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ มีหนังสือนำถึงกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาเพื่อจดทะเบียนสมรสภายใต้กฎหมายกัมพูชา

 

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรส

คู่สมรสฝ่ายไทย

1.  หนังสือรับรองความเป็นโสด (ออกให้โดยเขตหรืออำเภอ) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการรับรองการแปลจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ) และรับรองอีกครั้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
2.  หนังสือรับรองความประพฤติ (ออกให้โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งได้รับการรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ถนนแจ้งวัฒนะ) และรับรองอีกครั้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
3.  หนังสือรับรองสุขภาพภาษาอังกฤษ (ออกให้โดยโรงพยาบาล)
4.  หนังสือรับรองเงินเดือนภาษาอังกฤษ (ออกให้โดยบริษัทหรือหน่วยงานที่ทำงาน)
5.  หนังสือเดินทาง ซึ่งได้รับการรับรองสำเนาจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ
6.  สำเนาทะเบียนบ้าน
7.  หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
8.  ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
9.  สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
10. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)
11. หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
        ·  คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
        ·  สมรสกับคู่สมรสเดิม
        ·  มีใบรับรองแพทย์แสดงว่ามิได้ตั้งครรภ์
        ·  มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

คู่สมรสชาวกัมพูชา

1.  หนังสือรับรองความประพฤติ ซึ่งออกโดยทางการกัมพูชา
2.  หนังสือรับรองคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเสรีภาพในการสมรส ซึ่งออกโดยทางการกัมพูชา (หนังสือรับรองความเป็นโสด)
3.  หนังสือรับรองสุขภาพ (ออกให้โดยโรงพยาบาล)
4.  หนังสือรับรองเงินเดือน (ออกให้โดยบริษัทหรือหน่วยงานที่ทำงาน)
5.  บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทางหรือบัตรข้าราชการ
6.  สำเนาทะเบียนบ้าน
7.  หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)

หมายเหตุ

1.  กรุณาติดต่อขอรับทราบรายละเอียดเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรสได้โดยตรงที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศที่ผู้ร้องประสงค์ยื่นขอจดทะเบียนสมรส
2.  นายทะเบียนสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยเฉพาะกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยเท่านั้น
3.  ไม่มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการจดทะเบียนสมรส
4.  ค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ คิดเป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อหนึ่งเอกสาร
5.  ในวันที่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องนำพยาน (บุคคลที่รู้จัก สัญชาติใดก็ได้) มาด้วย 2 คน

เอกสารประกอบ

services-20180206-173709-032752