การจดทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนหย่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,502 view

การจดทะเบียนหย่า

ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนหย่า ต้องมาดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเองทั้งฝ่ายชายและหญิง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันมายื่นเรื่อง ครั้งที่สองคือวันมารับทะเบียนหย่า โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.     คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือสัญญาหย่า (หนังสือสัญญาหย่าสามารถมาทำที่สถานเอกอัครราชทูตฯ) และต้องมีพยานมาลงชื่อด้วย 2 คน

2.     คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือสัญญาหย่าและเอกสารประกอบต่อเจ้าหน้าที่

3.     กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันโดยมีเงื่อนไข ให้ไปจดทะเบียนหย่าต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ การสมรสจึงจะสิ้นสุด (แต่หากต้องการได้รับทะเบียนหย่าสามารถนำคำพิพากษาพร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด พร้อมเอกสารประกอบไปยื่นต่อเขต/อำเภอหรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ ได้)

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

1.     บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนา 1 ใบ

2.     หนังสือเดินทาง และสำเนา 1 ใบ

3.     ใบสำคัญการสมรสหรือสำเนาทะเบียนสมรส และสำเนา 1 ใบ

4.     หนังสือสัญญาหย่า

5.     คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา)

 

หมายเหตุ

1.     หากจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกัมพูชา และประสงค์จะหย่าขาดจากกันไม่สามารถมาจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทย เนื่องจากไม่ได้ทำการสมรสตามกฎหมายไทย ต้องหย่าที่หน่วยงานกัมพูชาเท่านั้น

2.     หากจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกัมพูชา และในบันทึกฐานะครอบครัวระบุการแต่งงาน เมื่อหย่าขาดจากกันแล้ว ควรทำเรื่องขอปรับปรุงรายละเอียดในบันทึกฐานะครอบครัว เพื่อให้ทางการไทยทราบว่าได้หย่าร้างแล้ว

3.     ถึงแม้จะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยและหย่ากับคู่สมรสกัมพูชา/ต่างชาติ แล้วก็ควรทำเรื่องขอปรับปรุงรายละเอียดในบันทึกฐานะครอบครัวเช่นกัน

เอกสารประกอบ

services-20180206-173500-072060
services-20180206-173529-687894